เมนู

โพชฌงค์. ก็ภูมินี้นั้นมี 4 อย่าง คือวิปัสสนา 1 ฌานที่เป็นบาท
แห่งวิปัสสนา 1 มรรค ผล 1 ใน 4 อย่างนั้น ในเวลาที่เกิดใน
วิปัสสนา โพชฌงค์ จัดเป็นกามวจร. ในเวลาที่เกิดในฌานอันเป็น
บาทของวิปัสสนา โพชฌงค์ เป็นรูปาวจร และอรูปาวจร. ในเวลา
ที่เกิดในมรรคและผล โพชฌงค์เป็นโลกุตตระ. ดังนั้น ในสูตรนี้
ท่านจึงกล่าวโพชฌงค์ว่า เป็นไปในภูมิทั้ง 4.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 5

อรรถกถาสูตรที่ 6



ในสูตรที่ 6 มีความย่อเหตุที่เกิดเรื่อง ก็ในเหตุที่เกิดเรื่อง
ท่านตั้งเรื่องไว้ดังต่อไปนี้ :-
ภิกษุมากรูปนั่งประชุมกันในโรงธรรม ท่านเกิดสนทนาปรารภ
พันธุลมัลลเสนาบดีขึ้นในระหว่าง ดังนี้ว่า อาวุโส ตระกูลชื่อโน้น
เมื่อก่อน ได้มีหมู่ญาติเป็นอันมาก มีสมัครพรรคพวกมาก บัดนี้
มีญาติน้อย มีสมัครพรรคพวกน้อย. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงทราบวาระจิต ของภิกษุเหล่านั้น ทรงทราบว่า เมื่อเราไป
(ที่นั้น) จักมีเทศน์กัณฑ์ใหญ่จึงเสด็จออกจากพระคันธกุฎี ประทับ
นั่งบนบวรพุทธอาสน์ ที่เขาตกแต่งไว้ในโรงธรรม แล้วตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมด้วยเรื่องอะไรกัน. พวก
ภิกษุกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เรื่องคามนิคมเป็นต้น
อย่างอื่นย่อมไม่มี แต่ตระกูลชื่อโน้น เมื่อก่อนมีญาติมาก มีสมัคร

พรรคพวกมาก บัดนี้ มีญาติน้อย มีสมัครพรรคพวกน้อย พวก
ข้าพระองค์ นั่งประชุมสนทนากันดังนี้. พระศาสดาทรงปรารภ
สูตรนี้ว่า ก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเสื่อมนี้มีประมาณน้อย ดังนี้
ในเมื่อเกิดเรื่องนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปมตฺติกา ได้แก่น้อย คือ มี
ประมาณน้อย. จริงอยู่ ด้วยความเสื่อมนี้ ท่านกล่าวคำมีอาทิว่า
ความเสื่อมจากสวรรค์ หรือจากมรรคย่อมไม่มี นั้นเป็นเพียงความ
เสื่อมในปัจจุบันเท่านั้น. บทว่า เอตํ ปติกิฏฺฐํ ความว่า นี้เป็นของ
ที่เลวร้าย นี้เป็นของต่ำทราม. บทว่า ยทิทํ ปญฺญาปริหานิ ความว่า
ความเสื่อมแห่งกัมมัสสกตปัญญา ฌานปัญญา วิปัสสนาปัญญา
มรรคปัญญา และ ผลปัญญา ในศาสนาของเรา เป็นความเสื่อม
ที่เลวร้าย เป็นความเสื่อมที่ต่ำทราม เป็นความเสื่อมที่ควรละทิ้งเสีย.
จบ อรรถกถาสูตรที่ 6

อรรถกถาสูตรที่ 7



ในสูตรที่ 7 ท่านกล่าวไว้แล้ว ในเหตุเกิดเรื่องเหมือนกัน.
ได้ยินว่า บรรดา ภิกษุสงฆ์ ผู้นั่งประชุมกันในโรงธรรม บางพวก
กล่าวอย่างนี้ว่า ตระกูลชื่อโน้น เมื่อก่อนมีญาติน้อย พวกน้อย บัดนี้
ตระกูลนั้น มีญาติมาก มีพวกมาก หมายเอาตระกูลนั้น จึงกล่าว
อย่างนี้แล. คือ หมายถึงนางวิสาขาอุบาสิกา และเจ้าลิจฉวีใน
กรุงเวสาลี. พระศาสดา ทรงทราบวาระจิตของภิกษุเหล่านั้น จึง